การย่อยอาหารของเห็ด รา

          การได้มาซึ่งอาหาร (nutrition) ได้แก่สารประกอบต่างๆทั้งสารอนินทรีย์  และสารอินทรีย์ที่นำเข้าสู่ เซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิต สารต่างๆ เหล่านี้จะเป็นวัตถุดิบ (raw material) ที่ใช้ในการสร้างพลังงาน และการเจริญเติบโต เพื่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่อไป 

กรรมวิธีที่ได้มาซึ่งอาหารของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2  กลุ่ม
           ออโตโทรฟ (autotroph) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืชและโพรทิสต์ที่สร้างอาหารได้ 
          เฮเทอโรโทรฟ (heterotroph) หมายถึงกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ต้องอาศัยสารอินทรีย์ที่เป็นสารอาหารจากภายนอก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
          1. ฮอโลทรอฟิก (holotrophic) กินอาหารที่มีโลเลกุลใหญ่และซับซ้อน แล้วยังมีการบดให้ละเอียดและย่อยสลาย การย่อยนั้นต้องใช้เอนไซม์หรือน้ำย่อยเป็นตัวสลาย
          2. แซโพรทรอฟิก (saprotrophic) เป็นการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารพวก สารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว หรือเศษอินทรีย์

          เห็ด รา ยีสต์ (Fungus,Fungi) คือสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง เดิมเคยจัดอยู่อาณาจักรเดียวกับพืช แต่ปัจจุบันจัดอยู่ใน อาณาจักรเห็ดราหรือฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นเซลล์ยูแคริโอต (eukaryote) พบได้ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เส้นใย และ ดอกเห็ด ไม่มีคลอโรฟิลล์ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลาย สารอินทรีย์โดยปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนจนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดซึมเข้าเซลล์(saprophyte) ได้แก่สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์ การย่อยอาหารของเห็ด รา ยีสต์เนื่องจากรามีผนังเซลล์จึงไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่ เข้าสู่เซลล์ ได้การย่อยอาหารจึงเป็นการย่อยภายนอกเซลล์(Extracellular digestion) โดยส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กก่อนแล้วจึงดูดซึมเข้าสู่เซลล์การย่อยสาร โมเลกุลใหญ่โดย ราและแบคทีเรีย จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ยีสต์เจริญได้ดีในอาหารพวก น้าตาลเพราะยีสต์ มีเอนไซม์อินเวอร์เทส ในการย่อยสลายน้ำตาลซูโครส ให้ได้น้ำตาลฟรักโทสและน้ำตาล กลูโคส หรือ น้ำตาลอินเวอร์ท
ที่นำมาเป็นส่วนผสมในขนมเค้ก ลูกกวาดและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เป็นต้น