กระบวนการย่อยในลำไส้เล็ก
การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก มี 2 วีธี ดังนี้
1. การย่อยเชิงกล ได้แก่
- การหดตัวเป็นจังหวะ (Rhythmic Segmentation) ช่วยคลุกเคล้าอาหารให้ผสมกับน้ำย่อย และช่วยไล่อาหารให้เคลื่อนไปตามทางเดินอาหาร
- Peristalsis เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารเป็นช่วงๆติดต่อกัน ช่วยผลักหรือไล่อาหารให้เดินทางต่อไป
ที่มา : https://www.biologyonline.com/dictionary/peristalsis
ที่มา : https://www.bicchemical.com/index.php?r=site/article32
2. การย่อยทางเคมี เป็นการย่อยที่ใช้สารเคมีหรือเอนไซม์จากอวัยวะส่วนต่างๆ
2.1 สารและเอนไซม์จากตับอ่อน
- โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) มีฤทธิ์เป็นเบส ช่วยเปลี่ยนอาหาร (Chyme) ที่มีฤทธ์เป็นกรดจากกระเพาะอาหารให้เป็นกลางหรือเบสอ่อน
- เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ทำหน้าที่ย่อยแป้ง ไกลโคเจน หรือเดกซ์ทริน ให้แตกตัวเป็นมอลโทส
- เอนไซม์ไลเพส หรือ สตีปซิน (Lipase or Steapsin) ทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและ กลีเซอรอล และทำงานได้ดีที่ pH 8.0
- ทริปซิโนเจน (Trypsinogen) เป็นสารเคมีที่ไม่พร้อมจะทำงาน ต้องอาศัยเอนไซม์เอนเทอโรไคเนส (Enterokinase) จากผนังลำไส้เล็กเปลี่ยนเป็นทริปซิน (Trypsin) ก่อน จึงจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีน หรือพอลิเพปไทด์ ให้เป็นพอลิเพปไทด์สายสั้นๆ
- ไคโมทริปซิโนเจน (Chymotrypsinogen) เป็นสารเคมีที่ไม่พร้อมจะทำงาน ต้องอาศัยทริปซินเปลี่ยนเป็น ไคโมทริปซิน (Chymotrypsin) ก่อน จึงจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนได้
- โพรคาร์บอกซิเพปทิเดส (Procarboxypeptidase) เป็นสารเคมีที่ไม่พร้อมจะทำงาน ต้องอาศัย เอนไซม์ทริปซิน หรือ เอนเทอโรไคเนสตัวใดตัวหนึ่งเปลี่ยนเป็นเอนไซม์ คาร์บอกซิเพปทิเดส (Carboxypeptidase) ที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนตรงปลายสุดด้านหมู่คาร์บอกซิลเท่านั้น
2.2 น้ำดีจากตับ ไม่จัดเป็นเอนไซม์ แต่ช่วยให้ไขมันแตกตัวเป็น Emulsion โดยเกลือน้ำดี เพื่อให้ Lipase ย่อยไขมันได้ น้ำดีส่วนหนึ่งซึ่งถูกเก็บอยู่ในถุงน้ำดีนั้น จะถูกขับออกมาโดยการหดตัวของถุงน้ำดี จากการกระตุ้นของออร์โมนคอเลซิสโทไคนิน (cholecystokinin,(CCK)) ที่ถูกสร้างขึ้นโดยเซลล์ของเยื่อบุผนังลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งถูกกระตุ้นการหลั่งมาจากการกินอาหารไขมันอีกต่อหนึ่ง สาร CCK นี้ จะทำให้หูรูดท่อน้ำดี (sphincter of Oddi) คลายตัว เพื่อให้น้ำดีผ่านลงสู่ลำไส้เล็กได้
ที่มา : https://www.facebook.com/1660865074139614/photos/a.1922955791263873/2764051523820958/?type=3
2.3 สารและเอนไซม์จากลำไส้เล็ก ได้แก่
- เอนเทอโรไคเนส ช่วยเปลี่ยนทริปซิโนเจน และโพรคาร์บอกซิเพปทิเดสจากตับอ่อน ให้เป็นทริปซิน และคาร์บอกซิเพปทิเดส
- เอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อะไมเลส (Amylase) มอลเทส (Maltase) ซูเครส (Sucrase) และ แล็กเทส (Lactase)
- เพปซิเดส (Peptidase)มีหลายชนิด เช่น อะมิโนเพปทิเดส (Aminopeptidase) ซึ่งช่วยย่อยเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโนและเพปไทด์ขนาดสั้นลง และไดเพปทิเดส (Dipeptidase) เป็นเอนไซม์ที่ไฮโดรไลซ์พันธะไดเพปไทด์ ให้เป็นกรดอะมิโน
- เอนไซม์ไลเพส(Lipase) ช่วยย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล