กระเพาะอาหาร

ที่มา : https://www.britannica.com/science/stomach

     ระเพาะอาหาร (Stomach) อยู่ทางด้านซ้ายของร่างกาย ใต้กะบังลม (Diaphragm) ในสภาพไม่มีอาหารบรรจุอยู่ จะมีปริมาตร 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลักษณะผนังกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น โดยชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อวง (circular muscle) และชั้นในสุด เป็นกล้ามเนื้อในแนวทแยง (oblique muscle) โดยถัดเข้าไปจะเป็นชั้น mucosa ลักษณะพับไปมา เรียกว่า Rugae เพื่อรองรับการขยายได้ 4-7 เท่า ของภาวะปกติส่วนต่างๆของกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
      1. Cardia เป็นส่วนของกระเพาะอาหารตอนบนอยู่ต่อจากหลอดอาหาร มีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า
Cardiac Sphincter ป้องกันไม่ให้อาหารภายในกระเพาะอาหารย้อนกลับสู่หลอดอาหาร
      2. Fundus เป็นกระเพาะอาหารส่วนกลาง  เป็นส่วนที่อยู่สูงสุดของกระเพาะอาหาร
      3. Body  เป็นบริเวณตรงกลางและเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด
      4. Antrum เป็นส่วนต่ำสุดของกระเพาะอาหาร
      5. Pylorus เป็นกระเพาะอาหารส่วนปลายติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) มีลักษณะเล็กเรียวแคบลงตอนปลายสุดมีกล้ามเนื้อหูรูด เรียกว่า Pyloric Sphincter ป้องกันไม่ให้อาหารออกจากกระเพาะอาหาร

       กระเพาะอาหารประกอบด้วยเซลล์ต่าง ๆ ได้แก่ chief cell, parietal cell, mucous neck cell และ endocrine cells (เช่น G cell & D cell) ซึ่งเซลล์แต่ละชนิดจะมีจำนวนต่างกันในแต่ละส่วนของกระเพาะอาหารโดยเซลล์เหล่านี้จะหลั่งสารน้ำเรียกว่า gastric secretion หรือ gastric juice ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

      1. สารประกอบอินทรีย์ ได้แก่ เอนไซม์ (pepsinogen, prorenin และ lipase), intrinsic factor (IF) เป็นไกลโคโปรตีนสำหรับช่วยในการดูดซึมวิตามิน B12 บริเวณลำไส้เล็กส่วน ileum, เมือก (mucous) เป็นสารจำพวกไกลโคโปรตีนเช่นกัน มีฤทธิ์เป็นเบสมาเคลือบผิวกระเพาะอาหาร ซึ่งป้องกันการย่อยจากน้ำย่อย และสุดท้ายฮอร์โมน gastrin ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งกรด HCI และการบีบตัวของกระเพาะอาหาร โดยสาเหตุที่กระเพาะอาหารไม่ถูกย่อยแม้จะมีความเป็นกรดสูงเนื่องจากมีเมือกมาเคลือบ และมีเอนไซม์อยู่ในรูป proenzyme อีกทั้งเยื่อหุ้มเซลล์ยังมีกลไกป้องกันการผ่านเข้าของกรด HCI

    2. สารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่ H+, Cl-, Na+ , K+, HCO3-, และ H2O

       ที่มา : https://ksumsc.com

       การสร้างและหลั่งสารน้ำของกระเพาะอาหาร (gastric secretion) ถูกควบคุมจากทั้งระบบประสาทและฮอร์โมนที่ควบคุมทางเดินอาหาร สรุป ขั้นตอนการสร้างและหลั่งสารน้ำของกระเพาะอาหารได้ ดังนี้

      1. Chief cell ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์หลายชนิด เช่น Pepsinogen, Gastric lipase, Gastric amylase (ทำงานได้น้อย), Gelatinase, Rennin และ Urase  
      - Chief cell สังเคราะห์ pepsinogen ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยังไม่พร้อมทำงาน (proenzyme / inactive form) โดยถูกเก็บไว้ในรูปของแกรนูลภายในเซลล์ซึ่งเมื่อได้รับการกระตุ้นจะหลั่งเอนไซม์ออกจากเซลล์ Pepsinogen เมื่อได้รับการกระตุ้นจะหลั่งเอนไซม์ออกจากเซลล์โดยวิธี exocytosis 

     2. Parietal cell เมื่อถูกกระตุ้นจะปั๊ม H+ และ Cl- ออกจากเซลล์โดย active transport ได้กรด HCI ทำให้ pH ในกระเพาะอาหารต่ำกว่า 3 ส่งผลให้ pepsinogen เปลี่ยนเป็น pepsin ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พร้อมทำงาน (active enzyme)
        - Enterochromaffin (ECL cell) ถูกกระตุ้นโดยเซลล์ประสาทให้หลั่ง Histamine ซึ่งจะไปกระตุ้น Parietal cell ให้หลั่ง HCl เพิ่มขึ้น
       - โดย Parietal cell ของต่อมสร้างน้ำย่อยในกระเพาะจะหลั่ง HCl จากการกระตุ้นของสารสามอย่าง

    1. Hormone Gastrin

    2. สารสื่อประสาท Acetylcholine

    3. Histamine จาก ECL
      

     3. Pepsin สามารถกระตุ้น pepsinogen ที่หลั่งออกมาให้เปลี่ยนเป็น pepsin ได้

         - Enteroendocrine cell อันได้แก่ G-cell สร้างฮอร์โมน Gastrin ทำหน้าที่กระตุ้นให้กระเพาะทำงานมากขึ้น กระตุ้น Parietal cell ให้หลั่งกรด HCl มากขึ้น และ D-cell สร้าง Somatostatin ตัวนี้ยับยั้งการหลั่งกรด 

          เมื่ออาหารถูกย่อยในกระเพาะอาหารจะเรียกว่า chyme ซึ่งโปรตีนจะถูกย่อยในกระเพาะอาหารเพียง ร้อยละ 15 เท่านั้น โดยส่วนที่ผ่านการย่อยแล้วจะถูกส่งไปยังส่วนปลายของกระเพาะอาหาร ซึ่งหดตัวแบบ peristalsis เพื่อบีบไล่ chyme เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) สำหรับย่อยในขั้นตอนถัดไป